วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สานพลังประชารัฐเพื่อการพัฒนา ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ

สานพลังประชารัฐเพื่อการพัฒนา
ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ
**นางสาวอรจิรา  สุวรรณมาลี
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดราชบุรี

โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) หนึ่งในคณะสานพลังประชารัฐจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการบูรณาการความร่วมมือ 3 ภาคส่วน ระหว่าง ภาครัฐ  ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ผ่านวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางประชารัฐ  ในการลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่อยอดสู่พันธกิจในการสร้างเยาวชนที่สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาอย่างตรงจุด เป็น เด็กดี - เด็กเก่งโดยคณะทำงานได้ส่งเสริมโรงเรียนประชารัฐในระยะแรก  3,351 โรงเรียน ครอบคลุม 225 เขตพื้นที่การศึกษา ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ภายใต้โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน หรือ CONNEXT ED เพื่อการยกระดับการจัดการศึกษาไทยสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

จังหวัดราชบุรีมีโรงเรียนในโครงการประชารัฐ  จำนวน 54 แห่ง สพป.รบ.1 จำนวน 24 แห่ง สพป.รบ.2 จำนวน 28 แห่ง และ สพม.8 จำนวน 2 แห่ง มีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนประชารัฐ จากหน่วยงานทางการศึกษาทั้งสามแห่งทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ให้ความเห็นชอบคำสั่งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนประชารัฐระดับโรงเรียนสื่อสารสร้างความเข้าใจในการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรเอกชนกับโรงเรียนที่ต้องมาเป็น school partner  ส่งผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐอบรมพัฒนาด้านผู้นำการศึกษาให้ผู้บริหารจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทการพัฒนาโรงเรียน  สามารถจัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาส่งให้ school partner จาก ธนาคารกรุงเทพจำกัด BBL 9 แห่ง/OBEC 13 แห่ง/ SCG  3 แห่ง /CPALL 3 แห่ง/ปตท. 3 แห่ง /ทรูคอร์ปเรชั่น 18 แห่ง/Mitr Phol 2 แห่ง / SCB 2 แห่ง  ได้มีการประชุมผู้บริหารโรงเรียนร่วมกับภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ เรื่องการเขียนโครงการ ที่เน้นการพัฒนาบุคลากรนักเรียนที่ยั่งยืน  อบรมเชิงปฏิบัติการด้านพัฒนาระบบสารสนเทศโรงเรียนประชารัฐเพื่อให้ภาคเอกชนที่เป็น school partner สามารถสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล  /ส่งครูอบรมการจัดการเรียนการสอนตามโครงการและสาระการเรียนรู้ที่ครูสอน  เช่นภาษาไทย  ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์  การจัดการเรียนรู้เป็นต้น จัดทำแผนขับเคลื่อนโดยการนิเทศติดตามและประเมินผล
         การดำเนินการโครงการประชารัฐจะมีการยกระดับและพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ ตามมาตรฐาน 4 ด้าน ดังนี้
         มาตรฐานที่ 1 การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา การจัดทรัพยากร และ ICT เพื่อการจัดการศึกษา ประกอบด้วย ตัวชี้วัด 4 รายการ ได้แก่ 1) โครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ (Physical Infrastructure) ห้องเรียน ห้องประกอบ รั้วมีสภาพดี มีชุดสื่อ อุปกรณ์ในห้องพอเพียง พร้อมใช้ 2) สิ่งอำนวยความสะดวก (School Facilities) มีสภาพดี เหมาะสม เพียงพอ พร้อมใช้ 3) วัสดุและครุภัณฑ์ในการจัดการเรียนการสอน (Teaching and Learning Materials) เหมาะสมเพียงพอ พร้อมใช้ 4) ครู บุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรอื่น (Teacher requirement and Staff for quality and quantity) มีคุณภาพ จำนวนเพียงพอ
         มาตรฐานที่ 2 การจัดการศึกษาสู่ความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ การสร้างจิตสำนึกในความเป็นประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และความเป็นพลเมืองโลก ประกอบด้วย ตัวชี้วัด 3 รายการ ได้แก่ 1) การจัดหลักสูตรสถานศึกษา และกิจกรรมทางการศึกษาสู่ความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ  2) โอกาสในการมีส่วนร่วม เรียนรู้ และมีจิตสำนึกที่ดีต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความเป็นพลเมือง (Civic Education) ที่ดี 3) ระบบประกันคุณภาพที่มีประสิทธิผล
         มาตรฐานที่ 3 การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้เรียน การบริหาร และการจัดการเรียนการสอนด้วย ICT เพื่อผู้เรียนผลิตผลงาน นวัตกรรม ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 รายการ ได้แก่ 1) กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหาร ครู และภาคีเครือข่ายที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องมั่นใจในคุณภาพ 2) กระบวนการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3) ความสามารถในการแข่งขันและผลิตผลงานสร้างสรรค์ของผู้เรียน
         มาตรฐานที่ 4 การพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน การพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ครูและนักเรียนให้มีคุณภาพในยุคศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 รายการ ได้แก่ 1) ด้านพัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิสัยทัศน์ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและมีศักยภาพสอดคล้องตามยุทธศาสตร์โรงเรียนประชารัฐ และมาตรฐานวิชาชีพ 2) ด้านพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เรียนรู้ผ่านกิจกรรม (Active Learning) และใช้กระบวนการคิด
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ด้านงานวิชาการ  พบว่า  ได้ดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ มีการจัดทำโครงการ แต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบการดำเนินงาน เร่งรัดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกระดับชั้น ส่งผลต่อการประเมินการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ O-Net, NT ในภาพรวมสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา นักเรียนมีระเบียบวินัย      มีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามค่านิยม ๑๒ ประการ ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข     มีทักษะวิชาชีพเพิ่มขึ้น ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาในรูปแบบประชารัฐ สามารถจัดการเรียนการสอนกับความต้องการของภาคประชาชนได้มากขึ้น  ด้านการบริหารจัดการ พบว่า การบริหารจัดการด้านการศึกษาของสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพมากขึ้น ด้านการส่งเสริมสนับสนุน พบว่า ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน จากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในด้านงบประมาณจากภาครัฐบาล ภาคเอกชน และชุมชน  โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนครูอัตราจ้างให้โรงเรียนที่ขาดแคลนอัตรากำลังครู และเตรียมความพร้อมระดับอนุบาล 3 ขวบทำให้แก้ปัญหาการขาดแคลนครูได้ส่วนหนึ่ง มีหน่วยงานภาคเอกชนให้การสนับสนุน เช่น บริษัท True ปลูกปัญญา สนับสนุนเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน ICT ประจำห้องสมุด  เพื่อช่วยเหลือนักเรียนในการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง, บริษัทThai Bev. บริษัทน้ำตาลมิตรผล , ธนาคารกรุงเทพ จำกัด, บริษัทซีพีออล , บริษัท ปตท. สนับสนุนงบประมาณ การสนับสนุนเหล่านี้ทำให้นักเรียนมีโอกาสในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้น ด้านกายภาพและสังคม จากการสนับสนุนทรัพยากรจากทุกภาคส่วน ทำให้โรงเรียนสามารถพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียน มีอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ห้องน้ำ ห้องส้วม  สนามกีฬา  รั้ว ถนนทางเดินภายในโรงเรียน ที่สะอาด ปลอดภัย ทันสมัย ร่มรื่น น่าอยู่ น่าเรียน และมีบรรยากาศ ที่เอื้อและพร้อมในการจัดการเรียนการสอน ทำให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีคุณภาพ

หน่วยงานมีนวัตกรรมต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ดังนี้
         1) ด้านการส่งเสริมอาชีพ เช่น โครงงานแปรรูปอาหาร  ผลิตภัณฑ์ครบเครื่องเรื่องฟักข้าว (โรงเรียนวัดเขาปิ่นทอง  อำเภอจอมบึง)  ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของใช้ ของตกแต่ง ของชำร่วยงานมงคล และของขวัญ (โรงเรียนวัดดอนตลุงอำเภอเมือง) ผลงานผักข้างรั้ว ครอบครัวพอเพียง หลีกเลี่ยงสารเคมี (โรงเรียนวัดพิกุลทอง อำเภอเมือง) ผลงานเด็กไทยแก้มใส ถวายเจ้าฟ้าโภชนาการ (โรงเรียนอนุบาลจอมบึง อำเภอจอมบึง) เป็นต้น 
         2) ด้านการจัดกิจกรรม เช่น โรงเรียนต้นแบบการจัดกิจกรรมวินัยนักเรียนรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง รูปแบบ “ทหารกองพันแสดดำ” (โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม อำเภอบ้านโป่ง) โครงการพัฒนาคุณลักษณะสุจริตของนักเรียน (โรงเรียนวัดดอนกระเบื้อง อำเภอโพธาราม) เป็นต้น
การดำเนินการโครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) จะดำเนินการไปได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางประชารัฐ และจากนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ให้ศึกษานิเทศก์ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งหน่วยงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีส่วนร่วมในการทำงานเชิงบูรณาการในการจัดทำแผนการนิเทศ ตัวชี้วัดร่วม เครื่องมือและดำเนินการนิเทศ ติดตามและประเมินผลร่วมกันในการสร้างเยาวชนที่สามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาอย่างตรงจุด เพื่อการยกระดับการจัดการศึกษาไทยสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น